4.1 การศึกษา
สถานศึกษาในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร รวมทั้งสิ้น 6 แห่ง เป็นโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จ านวน 1 แห่ง โรงเรียนสังกัดเขตการศึกษาพื้นที่ เขต 3 จ านวน 1 แห่งโรงเรียนในสังกัดเทศบาลจ านวน 2 แห่ง โรงเรียนเอกชน 1แห่ง และการศึกษานอกโรงเรียน 1 แห่ง
สถานบริการด้านสาธารณสุขภายในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ประกอบด้วยโรงพยาบาลรัฐ 1 แห่ง ศูนย์สุขภาพชุมชน 1 แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล 1 แห่ง ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 1 แห่งคลินิกทันตกรรม 5 แห่ง สถานพยาบาล 10แห่ง
เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร สามารถติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี และอ าเภอใกล้เคียงโดยทางรถยนต์ ซึ่งมีเส้นทางติดต่อในหลายเส้นทาง ได้แก่ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด ทางหลวงท้องถิ่นและทางหลวงชนบท โดยมีเส้นทางที่ส าคัญ ดังนี้
1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217 เชื่อมโยงจังหวัดอุบลราชธานีกับอ าเภอพิบูลมังสาหาร โดยผ่านอ าเภอสว่างวีระวงศ์ อ าเภอวารินช าราบ ระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตรถนนลาดยาง 4 ช่องทาง จนถึงช่องเม็กติดพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางตลอดสาย
2. ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2173 เชื่อมโยงอ าเภอพิบูลมังสาหารกับอ าเภอโขงเจียมระยะทางประมาณ 32 กิโลเมตร สภาพถนนลาดยางตลอดสาย
3. ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2222 เชื่อมโยงอ าเภอพิบูลมังสาหาร กับอ าเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานีผ่านต าบลโพธิ์ศรี ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร
5.2 การบริการไฟฟ้า
ในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ประชาชนมีกระแสไฟฟ้าใช้ทุกหลังคาเรือนโดยอยู่ในความควบคุมดูแลของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอ าเภอพิบูลมังสาหารเป็นหน่วยงานรับผิดชอบซึ่งได้รับกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตสถานีไฟฟ้าย่อยสิรินธร ต าบลคันไร่ อ าเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
5.3 การบริการประปา
ในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ประชาชนได้รับบริการจากบริการของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาพิบูลมังสาหาร เพื่อการบริโภคอุปโภค
5.4 การบริการโทรคมนาคม
การบริการโทรศัพท์
การให้บริการโทรศัพท์อ าเภอพิบูลมังสาหารอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัททีทีแอนด์ที จ ากัด (มหาชน)
การบริการไปรษณีย์โทรเลข
ในเขตเทศบาลมีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง ดำเนินการโดยการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.คอร์ปอเรชั่น มหาชน)
5.5 การจราจร
การจราจรและถนนภายในเขตเทศบาล ถนนมีลักษณะแบบโครงข่ายตารางสี่เหลี่ยม (GRID NET WORK) ประกอบไปกับระบบในแนวรัศมีแบบ RADAID NET WORK เชื่อมโยงติดต่อกับชุมชนอื่นโดยรอบ ถนนที่เป็นสายหลักส าคัญของชุมชน คือ
ถนนหลวง ซึ่งเชื่อมกับต่อทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217 เป็นถนนสายหลักที่
สัญจรไปมาเชื่อมกับสะพานพิบูลมังสาหารไปอำเภอโขงเจียม อำเภอตาลสุม และไปอ าเภอสิรินธร ตลอดจนอำเภอใกล้เคียง
ถนนพิบูล และถนนพรหมแสง ซึ่งเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญของอำเภอพิบูลมังสาหาร
ถนนเทศบาล 2 เป็นที่ตั้งของส่วนราชการตั้งอยู่มาก การจราจรโดยทั่วไปถือว่าคล่องตัว แต่ในย่านธุรกิจและถนนสายหลักซึ่งเป็นที่ตั้งของส่วนราชการและสถานศึกษาจะมีจราจรหนาแน่นในระยะเวลาเร่งด่วน
6. ระบบเศรษฐกิจ
ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพค้าขายทั้ง สินค้าอุปโภค บริโภคและสินค้าเกษตร ปัจจุบันธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี มีอัตราการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นอาทิธุรกิจการจ าหน่ายโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ จานรับสัญญาณดาวเทียมเป็นต้นและนี้ยังเป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี โลตัสสาขาย่อย รวมทั้งธุรกิจจ าหน่ายรถยนต์ ก็มีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากมีศูนย์บริการ/จ าหน่ายรถยนต์เข้ามาเปิดบริการในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นนอกจากนี้ การท่องเที่ยวก็มีบทบาทส าคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งลักษณะการท่องเที่ยวในเขตเทศบาลมีความหลากหลายมีทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ มีศาสนสถานที่มีความสวยงาม และมีประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ สวยงาม มีอัตลักษณ์ นักท่องเที่ยวจึงให้ความสนใจมาเที่ยวชม อาทิ ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ประเพณีลอยกระทง ไหลเรือไฟในวันออกพรรษาประเพณีสงกรานต์ งานแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน และงานบวงสรวงพระบ ารุงราษฏร์เป็นต้น
7. ศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรม
ประชากรในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99.75 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.23 และศาสนาอื่นๆ ร้อยละ 0.02 ในเขตเทศบาลมีวัดจ านวน 6แห่ง คือ วัดโพธิ์ตาก วัดสวนสวรรค์ วัดภูเขาแก้ว วัดกลาง วัดหลวง และวัดสระแก้ว มีโบสถ์คริสต์ 2 แห่ง คือ ศูนย์คาทอลิกยอร์น แบปติสต์
และคริสต์จักรพิบูลมังสาหารสำหรับขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญของท้องถิ่นได้แก่ งานประเพณีสงกรานต์ งานแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน งานแห่เทียนเข้าพรรษา งานออกพรรษางานบวงสรวงพระบ ารุงราษฏร์ เป็นต้น
8. ทรัพยากรธรรมชาติ
8.1 สภาพดิน
ดินในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารมีลักษณะเป็นดินปนทรายมีความอุดมสมบูรณ์เฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ ามูลจะมีความอุดมสมบูรณ์สูงกว่าพื้นที่อื่น ๆ อยู่ในเขตที่มีปริมาณน้ าฝนค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณน้ าฝนโดยเฉลี่ยในภูมิภาคอื่นๆ แต่เนื่องจากเป็นดินร่วนปนทรายจึงเก็บน้ าไม่ค่อยอยู่ทำให้เกิดความแห้งแล้งในฤดูแล้ง
8.2 แหล่งน้ำ
เขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ที่สำคัญดังนี้
1. แม่น้ำ จำนวน 1 สาย คือแม่น้ำมูล มีความยาวแม่น้ำในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ประมาณ 2.455 กิโลเมตร
2. ลำห้วย จำนวน5 สาย ได้แก่ ลำห้วยหวาย ลำห้วยพอก ลำห้วยไผ่ ลำห้วยบุ่งโง้ง และลำห้วยซัน
8.3 การกำจัดขยะ
เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร มีปริมาณขยะที่จัดเก็บได้จำนวน 17 ตัน/วันกำจัดขยะด้วยวิธีฝังกลบในบ่อฝังกลบขยะมูลฝอยชุมชนของเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารซึ่งมีพื้นที่ 29 ไร่ 3งาน ตั้งอยู่บ้านสนามชัย ชุมชนหนองแปน ถนนสถิตนิมานกาล ซอย 3 ตำบลโพธิ์ไทรอ าเภอพิบูลมังสาหารจังหวัดอุบลราชธานี