สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
 
  1. สภาพทั่วไป
   1.1 ที่ตั้งและอาณาเขตของเทศบาล
         เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารเป็นเทศบาลขนาดกลาง ตั้งอยู่ในถนนพิบูลอาเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ของประเทศไทยห่างจากกรุงเทพมหานคร ทางรถไฟระยะทางประมาณ 575 กิโลเมตร และทางรถยนต์ระยะทางประมาณ 647 กิโลเมตร เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารห่างจากตัวเมืองจังหวัดอุบลราชธานีมาทางด้านตะวันออกประมาณ 45 กิโลเมตร มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมดประมาณ 6 ตารางกิโลเมตร มีแนวเขต ดังนี้
         ด้านเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 บริเวณพิกัด WB 250863 ตั้งอยู่ริมปากห้วยหวายฝังใต้และฝั่งตะวันตกของแม่น้ามูล เลียบฝั่งตะวันตกแม่น้ามูลไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดเขตที่ 2 บริเวณพิกัด WB 267847 ที่ปากห้วยไผ่ฝั่งใต้ริมฝั่งใต้ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ามูลระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร
         ด้านตะวันออก จากหลักเขตที่ 2 บริเวณพิกัด WB 267847 เลียบห้วยไผ่ฝั่งใต้ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จดหลักเขตที่ 3 บริเวณพิกัด WB 260842 ตรงริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217 ฟากตะวันออกระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร
         ด้านใต้ จากหลักที่ 3 บริเวณพิกัด WB260842 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจดหลักเขตที่ 4 บริเวณพิกัด WB 242846 ตรงริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217 ฟากใต้ที่หลักก.ม.41.300 ระยะทางประมาณ 1.8 กิโลเมตร
         ด้านตะวันตก จากหลักเขตที่ 4 บริเวณพิกัด WB 242846 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดผ่านถนนสาธารณะไปบ้านปากโดมจดหลักเขตที่ 5 บริเวณพิกัด WB 243861 ริมฝั่งห้วยหวาย ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร จากหลักเขตที่ 5 บริเวณ พิกัด WB 243861 เลียบห้วยหวายฝั่งใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตัดถนน รพช.อบ.3078 จนบรรจบกับหลักเขตที่1 ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร
แหล่งข้อมูล : กองช่างเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร
   1.2 สภาพภูมิประเทศ
         เป็นที่ราบสูงตั้งอยู่บริเวณที่เรียกว่า แอ่งโคราช โดยสูงจากระดับทะเลโดยเฉลี่ยประมาณ 227 ฟุต ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปเป็นพื้นที่สูง ๆ ต่า ๆ ไม่ราบเรียบ เวลาฝนตกน้าฝนจะระบายลงสู่แม่น้ามูลโดยตรง ทิศตะวันออกของเทศบาลจะมีแก่งหินขวางกั้นแม่น้ามูลอยู่ช่วงหนึ่งเรียกว่า “แก่งสะพือ” ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนและนักท่องเที่ยว ในฤดูแล้งน้าลดจะมองเห็นแก่งหินที่สวยงาม ส่วนในช่วงฤดูฝนน้าหลากชาวอาเภอพิบูลมังสาหารจะใช้เป็นแหล่งหาปลาเพื่อยังชีพ แก่งสะพือมีสัญลักษณ์ที่สาคัญ คือพระปรมาภิไธย ซึ่งเป็นแผ่นหินที่ประดิษฐานพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสที่ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จประพาสอาเภอพิบูลมังสาหารเมื่อปี พ.ศ. 2498 และได้ทรงลงพระปรมาภิไธยไว้เป็นสัญลักษณ์
    1.3 สภาพภูมิอากาศ
           ลักษณะสภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารเป็นระบบ TropicalSawana “AW” ตามระบบการจาแนกภูมิอากาศแบบ Koppen กล่าวคือ มีอุณหภูมิค่อนข้างร้อนจัดในฤดูร้อน และเย็นจัดในฤดูนาว โดยอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่นาความหนาวเย็นและแห้งแล้งลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่นาความชุ่มชื้นและฝนตกชุกทั่วไปจากลักษณะดังกล่าวสามารถจาแนกได้ 3 ฤดูกาล ดังนี้
              1. ฤดูร้อน อากาศจะเริ่มอบอ้าวในเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงเดือนเมษายนซึ่งในบางปีจะเกิดภาวะน้าท่วม
              2. ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงปลายเดือนกันยายน โดยในช่วงปลายฤดูฝนมักจะมีพายุดีเปรสชั่น ซึ่งในบางปีจะเกิดภาวะน้าท่วม
              3. ฤดูหนาว เนื่องจากอยู่ในจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศทาให้ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือก่อนจังหวัดอื่น โดยอุณหภูมิจะเริ่มลดลงตั้งแต่เดือนตุลาคม และจะสิ้นสุดฤดูประมาณปลายเดือนมกราคม
 2.ด้านการเมือง/การปกครอง
    2.1 เขตการปกครองเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร แบ่งเขตการปกครอง เป็น 17 ชุมชน ดังนี้
           1.วัดโพธิ์ตาก 1
           2.วัดโพธิ์ตาก 2
           3.วัดโพธิ์ตาก 3
           4.วัดโพธิ์ตาก 4
           5.วัดสวนสวรรค์ 1
           6.วัดสวนสวรรค์ 2
           7.วัดกลาง 1
           8.วัดกลาง 2
           9.วัดกลาง 3
        10.วัดหลวง 1
        11.วัดหลวง 2
        12.วัดหลวง 3
        13.วัดสระแก้ว 1
        14.วัดสระแก้ว 2
        15.วัดภูเขาแก้ว 1
        16.วัดภูเขาแก้ว 2
        17.ภูหลวง
     2.2 เขตการเลือกตั้ง ในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร แบ่งเป็น 3 เขตเลือก ดังนี้
        เขต 1 ชุมชนคุ้มวัดหลวง , ชุมชนคุ้มวัดสระแก้ว
        เขต 2 ชุมชนวัดสวนสวรรค์ , ชุมชนคุ้มวัดกลาง , ชุมชนภูหลวง
        เขต 3 ชุมชนวัดโพธิ์ตาก , ชุมชนวัดภูเขาแก้ว
     2.3 การบริหาร เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร
          1) ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลจานวน 18 คน
          2) ฝ่ายบริหารประกอบด้วย
              นายกเทศมนตรี
              รองนายกเทศมนตรี จานวน 3 คน
              เลขานุการนายกเทศมนตรี จานวน 1 คน
              ที่ปรึกนายกเทศมนตรี จานวน 1 คน
 
     การแบ่งส่วนราชการ แบ่งเป็น 6 หน่วยงานคือ กองวิชาการและแผนงาน กองคลังสานักปลัดเทศบาล กองการศึกษา กองช่าง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และสถานธนานุบาล 1 แห่ง โดยมีผู้บังคับบัญชาสูงสุดฝ่ายประจำ คือปลัดเทศบาล
    3.ประชากร
        3.1 ประชากรในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารรวมทั้งสิ้น 10,697 คน มีจำนวนครัวเรือน 4,662  ครัวเรือน (ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซด์สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร)
   4.สภาพทางสังคม
    4.1 การศึกษ
สถานศึกษาในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร รวมทั้งสิ้น 6 แห่ง เป็นโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จ านวน 1 แห่ง โรงเรียนสังกัดเขตการศึกษาพื้นที่ เขต 3 จ านวน 1 แห่งโรงเรียนในสังกัดเทศบาลจ านวน 2 แห่ง และการศึกษานอกโรงเรียน 1 แห่ง
    4.2 การสาธารณสุข
สถานบริการด้านสาธารณสุขภายในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ประกอบด้วยโรงพยาบาลรัฐ 1 แห่ง ศูนย์สุขภาพชุมชน 1 แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล 1 แห่ง ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 1 แห่งคลินิกทันตกรรม 5 แห่ง สถานพยาบาล 10แห่ง
   4.3 ความมั่นคง
        ในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารมีสถานีต ารวจภูธรพิบูลมังสาหาร ปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
 5.ระบบบริการพื้นฐาน
   5.1 การคมนาคม
เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร สามารถติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี และอ าเภอใกล้เคียงโดยทางรถยนต์ ซึ่งมีเส้นทางติดต่อในหลายเส้นทาง ได้แก่ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด ทางหลวงท้องถิ่นและทางหลวงชนบท โดยมีเส้นทางที่ส าคัญ ดังนี้
1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217 เชื่อมโยงจังหวัดอุบลราชธานีกับอ าเภอพิบูลมังสาหาร โดยผ่านอ าเภอสว่างวีระวงศ์ อ าเภอวารินช าราบ ระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตรถนนลาดยาง 4 ช่องทาง จนถึงช่องเม็กติดพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางตลอดสาย
2. ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2173 เชื่อมโยงอ าเภอพิบูลมังสาหารกับอ าเภอโขงเจียมระยะทางประมาณ 32 กิโลเมตร สภาพถนนลาดยางตลอดสาย
3. ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2222 เชื่อมโยงอ าเภอพิบูลมังสาหาร กับอ าเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานีผ่านต าบลโพธิ์ศรี ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร
  5.2 การบริการไฟฟ้า
ในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ประชาชนมีกระแสไฟฟ้าใช้ทุกหลังคาเรือนโดยอยู่ในความควบคุมดูแลของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอ าเภอพิบูลมังสาหารเป็นหน่วยงานรับผิดชอบซึ่งได้รับกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตสถานีไฟฟ้าย่อยสิรินธร ต าบลคันไร่ อ าเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
 5.3 การบริการประปา
ในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ประชาชนได้รับบริการจากบริการของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาพิบูลมังสาหาร เพื่อการบริโภคอุปโภค

5.4 การบริการโทรคมนาคม
 การบริการโทรศัพท์
การให้บริการโทรศัพท์อ าเภอพิบูลมังสาหารอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัททีทีแอนด์ที จ ากัด (มหาชน)
 การบริการไปรษณีย์โทรเลข
ในเขตเทศบาลมีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง ดำเนินการโดยการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.คอร์ปอเรชั่น มหาชน)
5.5 การจราจร
การจราจรและถนนภายในเขตเทศบาล ถนนมีลักษณะแบบโครงข่ายตารางสี่เหลี่ยม (GRID NET WORK) ประกอบไปกับระบบในแนวรัศมีแบบ RADAID NET WORK เชื่อมโยงติดต่อกับชุมชนอื่นโดยรอบ ถนนที่เป็นสายหลักส าคัญของชุมชน คือ
ถนนหลวง ซึ่งเชื่อมกับต่อทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217 เป็นถนนสายหลักที่
สัญจรไปมาเชื่อมกับสะพานพิบูลมังสาหารไปอำเภอโขงเจียม อำเภอตาลสุม และไปอ าเภอสิรินธร ตลอดจนอำเภอใกล้เคียง
ถนนพิบูล และถนนพรหมแสง ซึ่งเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญของอำเภอพิบูลมังสาหาร
ถนนเทศบาล 2 เป็นที่ตั้งของส่วนราชการตั้งอยู่มาก การจราจรโดยทั่วไปถือว่าคล่องตัว แต่ในย่านธุรกิจและถนนสายหลักซึ่งเป็นที่ตั้งของส่วนราชการและสถานศึกษาจะมีจราจรหนาแน่นในระยะเวลาเร่งด่วน
6. ระบบเศรษฐกิจ
ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพค้าขายทั้ง สินค้าอุปโภค บริโภคและสินค้าเกษตร ปัจจุบันธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี มีอัตราการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นอาทิธุรกิจการจ าหน่ายโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ จานรับสัญญาณดาวเทียมเป็นต้นและนี้ยังเป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี โลตัสสาขาย่อย รวมทั้งธุรกิจจ าหน่ายรถยนต์ ก็มีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากมีศูนย์บริการ/จ าหน่ายรถยนต์เข้ามาเปิดบริการในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นนอกจากนี้ การท่องเที่ยวก็มีบทบาทส าคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งลักษณะการท่องเที่ยวในเขตเทศบาลมีความหลากหลายมีทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ มีศาสนสถานที่มีความสวยงาม และมีประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ สวยงาม มีอัตลักษณ์ นักท่องเที่ยวจึงให้ความสนใจมาเที่ยวชม อาทิ ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ประเพณีลอยกระทง ไหลเรือไฟในวันออกพรรษาประเพณีสงกรานต์ งานแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน และงานบวงสรวงพระบ ารุงราษฏร์เป็นต้น

7. ศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรม

ประชากรในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99.75 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.23 และศาสนาอื่นๆ ร้อยละ 0.02 ในเขตเทศบาลมีวัดจ านวน 6แห่ง คือ วัดโพธิ์ตาก วัดสวนสวรรค์ วัดภูเขาแก้ว วัดกลาง วัดหลวง และวัดสระแก้ว มีโบสถ์คริสต์ 2 แห่ง คือ ศูนย์คาทอลิกยอร์น แบปติสต์
และคริสต์จักรพิบูลมังสาหารสำหรับขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญของท้องถิ่นได้แก่ งานประเพณีสงกรานต์ งานแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน งานแห่เทียนเข้าพรรษา งานออกพรรษางานบวงสรวงพระบ ารุงราษฏร์ เป็นต้น
8. ทรัพยากรธรรมชาติ
    8.1 สภาพดิน
ดินในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารมีลักษณะเป็นดินปนทรายมีความอุดมสมบูรณ์เฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ ามูลจะมีความอุดมสมบูรณ์สูงกว่าพื้นที่อื่น ๆ อยู่ในเขตที่มีปริมาณน้ าฝนค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณน้ าฝนโดยเฉลี่ยในภูมิภาคอื่นๆ แต่เนื่องจากเป็นดินร่วนปนทรายจึงเก็บน้ าไม่ค่อยอยู่ทำให้เกิดความแห้งแล้งในฤดูแล้ง
8.2 แหล่งน้ำ
เขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ที่สำคัญดังนี้
1. แม่น้ำ จำนวน 1 สาย คือแม่น้ำมูล มีความยาวแม่น้ำในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ประมาณ 2.455 กิโลเมตร
2. ลำห้วย จำนวน5 สาย ได้แก่ ลำห้วยหวาย ลำห้วยพอก ลำห้วยไผ่ ลำห้วยบุ่งโง้ง และลำห้วยซัน
8.3 การกำจัดขยะ
เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร มีปริมาณขยะที่จัดเก็บได้จำนวน 17 ตัน/วันกำจัดขยะด้วยวิธีฝังกลบในบ่อฝังกลบขยะมูลฝอยชุมชนของเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารซึ่งมีพื้นที่ 29 ไร่ 3งาน ตั้งอยู่บ้านสนามชัย ชุมชนหนองแปน ถนนสถิตนิมานกาล ซอย 3 ตำบลโพธิ์ไทรอ าเภอพิบูลมังสาหารจังหวัดอุบลราชธานี

ดู: 653
เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร

เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร

I will be back soon

เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร
สวัสดีครับ ต้องการให้เทศบาลช่วยเหลือเรื่องไหนครับ?
ติดต่อเทศบาล