สำนักปลัด

สำนักปลัดเทศบาล มีหน้าที่ควบคุม ดูแล รับผิดชอบการปฏิบัติ
– งานด้านการบริหารงานบุคคลของเทศบาล
– งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
– งานรักษาความสงบเรียบร้อยและงานป้องกันบรรเทาสาธารณภัย
– การให้บริการประชาชนทางด้านงานทะเบียนราษฎร เช่น การแจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งย้ายที่อยู่ และทำบัตรประจำตัวประชาชน
– งานสารบรรณของเทศบาลจัดการประชุมสภาเทศบาลและพนักงานเทศบาล
– จัดเตรียมให้บริการด้านสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ การติดต่ออำนวยความสะดวกต่าง ๆ
– งานการเลือกตั้ง และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

หลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นติดต่องานทะเบียนราษฎร

1. การแจ้งเกิด
– เจ้าบ้านหรือบิดา หรือมารดา เป็นผู้แจ้ง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีเจ้าบ้านแจ้งให้นำบัตรบิดาหรือมารดามาแสดงด้วย)
– หนังสือรับรองการเกิด (ถ้ามี)
– แจ้งภายใน 15 วัน

2. การแจ้งเกิดเกินกำหนด
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง,บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา มารดา (ถ้ามี)
– หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล (ถ้ามี)
– ค่าปรับ 20 บาท

3. การแจ้งตาย
– เจ้าบ้านหรือผู้พบศพหรือผู้ที่ไปกับผู้ตายเป็นผู้แจ้งพร้อมบัตรประชาชน
– กรณีตายโดยผิดธรรมชาติให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจเพื่อชันสูตรพลิกศพก่อน
– ถ้าผู้ตายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเทศบาลให้นำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านมาแสดง
– แจ้งภายใน 24 ชั่วโมง

4. การแจ้งย้ายที่อยู่
– เจ้าบ้านหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้านเป็นผู้แจ้ง
– กรณีมอบอำนาจให้นำบัตรผู้แจ้งและบัตรเจ้าบ้านมาแสดงด้วย
– ใบแจ้งย้ายที่อยู่ (กรณีย้ายเข้า)
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ย้ายออกหรือย้ายเข้า แจ้งภายใน 15 วัน

5. การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง (อัตโนมัติ)
– ผู้แจ้งพร้อมบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับปัจจุบัน
– เจ้าบ้านพร้อมบัตรประชาชน
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ย้ายเข้า
– ค่าธรรมเนียม 20 บาท

6. การออกใบแทนใบแจ้งย้ายที่อยู่ กรณีสูญหายหรือชำรุด
– บัตรประจำตัวประชาชน
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– บันทึกการแจ้งความ

7. การจำหน่ายชื่อ
– บัตรประจำตัวประชาชน
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– ใบมรณบัตร
– ใบมรณบัตรฉบับแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยกระทรวงต่างประเทศ (กรณีตายต่างประเทศ)

8. การขอบ้านเลขที่กรณีบ้านปลูกสร้างใหม่
– บัตรผู้แจ้ง กรณีเป็นเจ้าของบ้าน
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– เอกสารที่ดิน (โฉนด)
– ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร
– หนังสือมอบอำนาจ บัตรผู้มอบ บัตรผู้รับมอบ (กรณีมอบอำนาจ)

9. การขอแก้ไขรายการในเอกสารการทะเบียนราษฎร
ให้นำเอกสารการทะเบียนราษฎรที่ผิดพลาดมาติดต่อเจ้าหน้าที่ เอกสารที่ทางราชการออกให้ เช่น
– เอกสารการทะเบียนราษฎร
– สำเนาทะเบียนนักเรียน ใบสุทธิ
– หลักฐานการขึ้นทะเบียนทหาร (ส.ด.9)
– หลักฐานการสมรสหรือหย่า
– ใบสำคัญเปลี่ยนชื่อตัว-หรือชื่อสกุล
– ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
– ฯลฯ

หลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นติดต่องานบัตรประจำตัวประชาชน

ขอมีบัตร
1.กรณีขอมีบัตรครั้งแรก (อายุ 15 ปีบริบูรณ์)
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– สูติบัตร หรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้
– บิดา/มารดา/เจ้าบ้าน หรือบุคคลที่พนักงานเชื่อถือได้รับรอง
2.กรณีขอมีบัตรครั้งแรกเกินกำหนด
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– สูติบัตร หรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้
– เจ้าบ้าน หรือบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่เชื่อถือได้รับรอง
– ค่าปรับ 20 บาท
3.กรณีเพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้าน
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– สูติบัตร (กรณีแจ้งเกิดเกินกำหนด)
– หลักฐาน/เอกสารที่ทางราชการออกให้ (กรณีตกสำรวจ)
– สอบสวนเจ้าบ้าน หรือบุคคลที่น่าเชื่อถือ
– ค่าธรรมเนียม 20 บาท (เกิน 60 วัน นับจากวันที่เพิ่มชื่อ)
4.กรณีเป็นบุคคลได้รับการยกเว้น
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– หลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลได้รับการยกเว้น เช่น บัตรประจำตัว อื่นๆ ตามกฎหมายกำหนด
– กรณีไม่สามารถแสดงหลักฐานว่าเป็นบุคคลได้รับกรยกเวนให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่เชื่อถือไปให้การรับรอง
– ค่าธรรมเนียม 20 บาท
5.กรณีพ้นสภาพได้รับการยกเว้น
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– หลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลได้รับการยกเว้น (ภายใน 60 วัน)
6.กรณีได้/กลับคืนสัญชาติ
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– หนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติ/ได้หลับคืนสัญชาติไทย

ขอมีบัตรใหม่
1.กรณีบัตรชำรุดในสาระสำคัญ
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– บัตรเดิมที่หมดอายุ (ภายใน 60 วัน)
– บัตรหมดอายุเกินกำหนดเสียค่าปรับ 20 บาท
2.กรณีบัตรหาย หรือถูกทำลาย
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– หลักฐานแจ้งบัตรหาย/ทำลาย
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนใบที่หาย
– แสดงหลักฐานที่ทางราชการออกให้อย่างใดอย่างหนึ่ง (ถ้ามี)
– นำเจ้าบ้านหรือบุคคลอื่นที่พนักงานเจ้าหน้าที่เชื่อถือไปให้การรับรอง
– ค่าธรรมเนียม 20 บาท

ขอมีเปลี่ยนบัตร
1.กรณีบัตรชำรุดในสาระสำคัญ
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่ชำรุด
– ถ้าบัตรประจำตัวประชาชนชำรุดบริเวณภาพถ่าย หรือชื่อ-ชื่อสกุล ไม่สามารถพิสูจน์ตัวบุคคลได้
ให้แสดงหลักฐานทางราชการที่สามารถให้พิสูจน์ตัวบุคคลได้
– นำเจ้าบ้านหรือบุคคลอื่นที่พนักงานเจ้าหน้าที่เชื่อถือไปให้การรับรอง
– ค่าธรรมเนียม 20 บาท
2.กรณีเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– บัตรประจำตัวประชาชนเดิม
– หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล
– ค่าธรรมเนียม 20 บาท

แผนควบคุมคุณภาพการให้บริการ

 

 

John Doe

Software Engineer

Add team member description here. Remove the text if not necessary.

ดู: 1,211
เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร

เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร

I will be back soon

เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร
สวัสดีครับ ต้องการให้เทศบาลช่วยเหลือเรื่องไหนครับ?
ติดต่อเทศบาล