วิสัยทัศน์การพัฒนาเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร “เป็นศูนย์กลางการผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรม  ส่งเสริมการศาสนา การศึกษา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม แหล่งท่องเที่ยวและคุณภาพชีวิต” เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกด้านโดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน คมนาคมเครือข่าย เพื่อบริการประชาชนอย่างทั่วถึง ตลอดจนการพัฒนาด้านการศึกษา การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น การส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคม เพื่อรองรับการร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายใต้การดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล จุดมุ่งหมาย           เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน โดยส่งเสริมการทำเกษตรและอุตสาหกรรม  ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและพัฒนาศักยภาพองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล ยุทธศาสตร์การพัฒนา
  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อก่อสร้างและซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานในเขตเทศบาล ให้มีความสะดวก และได้มาตรฐาน
  2. เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านอื่น ๆ ให้ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านคมนาคม
แนวทางการพัฒนา
  1.   ก่อสร้างและปรับปรุงถนน  สะพาน  ทางเท้า  ท่อระบายน้ำ
  2.   ขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะ และติดตั้งซ่อมแซมไฟฟ้าส่องสว่าง
  3.   ก่อสร้างและซ่อมแซมระบบประปา
  4.   ก่อสร้างและซ่อมแซมหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน
  ตัวชี้วัด
  1. จำนวนการก่อสร้างและการปรับปรุงถนน สะพาน ทางเท้า ท่อระบายน้ำ
  2. จำนวนระยะทางการขยายเขตไฟฟ้าและการติดตั้งซ่อมแซมไฟฟ้าส่องสว่าง
  3. จำนวนการก่อสร้างและซ่อมแซมระบบประปา
  4. จำนวนผู้ที่รับข้อมูลข่าวสารผ่านหอกระจายข่าว
  5. 2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในด้านเกษตรกรรม
  2. เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและทักษะในการเพิ่มมูลค่าของผลผลิต
  3. เพื่อสนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ
  4. เพื่อส่งเสริมการพาณิชย์และท่องเที่ยว
แนวทางการพัฒนา
  1. พัฒนาการเกษตรกรรม
  2. ส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชน
  3. ส่งเสริมการพาณิชย์และท่องเที่ยว
ตัวชี้วัด
  1. จำนวนเกษตรกรและพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาด้านเกษตรกรรม
  2. จำนวนกลุ่มอาชีพที่ได้รับการส่งเสริมและจำนวนประชาชนที่มีทักษะในการเพิ่มมูลค่าของ ผลผลิต
  3. จำนวนกิจกรรมที่ดำเนินการ
  4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการศึกษาทั้งในและนอกระบบ
  2. เพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและคนชราในชุมชน
  3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
  4. เพื่อสร้างเสริมสุขอนามัยที่ดีให้แก่ประชาชน
  5. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนห่างไกลจากยาเสพติด
  6. เพื่อสนับสนุนประชาชนทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนา
  7. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันภัยและรักษาความสงบเรียบร้อยในชุมชน
  8. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาบทบาทสตรีและครอบครัว
แนวทางการพัฒนา
  1. พัฒนาและส่งเสริมการศึกษา
  2. พัฒนาและส่งเสริมด้านสวัสดิการชุมชน บทบาทสตรีและความสมานฉันท์ในครอบครัว
  3. พัฒนาและส่งเสริมด้านกีฬาและนันทนาการ
  4. พัฒนาและส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัย
  5. เฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
  6. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทางการเมืองและสังคม
  7. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการป้องกันภัยและรักษาความสงบเรียบร้อย
    ตัวชี้วัด
  1. จำนวนประชาชนที่ได้รับการส่งเสริมการศึกษา
  2. จำนวนประชาชนที่ได้รับการสงเคราะห์และมีส่วนร่วมในการพัฒนาบทบาทสตรีและความสมานฉันท์ในครอบครัว
  3. จำนวนประชาชนผู้มีสุขภาพแข็งแรงและสุขภาพจิตดี
  4. จำนวนประชาชนผู้ที่ร่วมโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
  5. จำนวนผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาทางการเมืองและสังคม
  6. จำนวนประชาชนที่เข้าร่วมการป้องกันภัยและรักษาความสงบเรียบร้อย
  7. 4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า
  2. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมและจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
  3. เพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนพึงพอใจ ไม่เกิดปัญหาภายในชุมชน
แนวทางการพัฒนา
  1. การจัดการทรัพยากรน้ำ
  2. การจัดการทรัพยากรป่าไม้และดิน
  3. การจัดการขยะมูลฝอย
  4. การปรับสภาพภูมิทัศน์
ตัวชี้วัด
  1. จำนวนแหล่งน้ำที่มีความสะอาดและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า
  2. จำนวนป่าไม้ที่ได้รับการอนุรักษ์และจำนวนที่ดินที่ได้รับการปรับสภาพให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น
  3. จำนวนปริมาณขยะมูลฝอยที่ลดน้อยลง
  4. จำนวนสถานที่ที่ได้รับการปรับสภาพภูมิทัศน์
  5. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อส่งเสริมคุณธรรมแก่ประชาชน
  2. เพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรม
แนวทางการพัฒนา
  1. พัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่ประชาชนในชุมชน
  2. ส่งเสริม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด
  1. จำนวนชุมชนที่มีความสงบสุขและประชาชนที่ร่วมโครงการ
  2. จำนวนประเพณี วัฒนธรรมที่ได้รับการสืบสาน
  3. 6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพองค์กรและบุคลากร
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและให้ประชาชนได้รับบริการที่ดี มีความสะดวก รวดเร็วตามหลักธรรมาภิบาล
  2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ของ เทศบาล
  แนวทางการพัฒนา
  1. ส่งเสริมศักยภาพของบุคลากร องค์กรและพัฒนาระบบบริการประชาชน
  2. ส่งเสริมการจัดเก็บรายได้ให้แก่เทศบาล
ตัวชี้วัด
  1. จำนวนบุคลากรและอุปกรณ์ที่มีศักยภาพ
  2. ระดับความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการ
  3. จำนวนรายได้ที่ เทศบาล สามารถจัดเก็บได้
  นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารท้องถิ่น ประกอบด้วย  7 ด้าน ดังนี้
  1. ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
๑.๑    ส่งเสริมการชลประทานระบบท่อ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรทำการเกษตรฤดูแล้ง ๑.๒  ปรับปรุงระบบคมนาคมภายในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารให้เป็นถนนที่ได้มาตรฐานมีระบบท่อระบายน้ำ ๑.๓   ไฟฟ้าสาธารณะ  และน้ำดื่ม น้ำใช้ได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ๑.๔  จัดวางระบบผังเมืองรวมและที่สาธารณะเพื่อใช้ประโยชน์ในที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ๑.๕  ปรับปรุงระบบเสียงตามสายภายในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ๒. ด้านพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต ๒.๑  ส่งเสริมการให้บริการความรู้ และพัฒนาการดูแลสุขภาพแก่ประชาชน ๒.๒  จัดให้มีศูนย์กีฬาสำหรับประชาชน สถานที่ออกกำลังกาย สถานที่ทำกิจกรรมร่วมกันของครอบครัวที่เหมาะสมสำหรับทุกเพศทุกวัย           ๓. ด้านประเพณี  วัฒนธรรม  และศาสนา ส่งเสริมให้มีการจัดงานประเพณีต่าง ๆ เพื่อสืบสานประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม อันเป็นเอกรักษ์ของเทศบาลเมืองพิบูลฯ เช่น ๓.๑  จัดขบวนแห่ในงานบรวงสรวงพระจูมมณี ๓.๒  จัดงานประเพณีวันสงกรานต์ ๓.๓  สนับสนุนงานประเพณีบุญบั้งไฟให้สืบไป ๓.๔  สนับสนุนงานบุญสังฆทานทุกวัดในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ๓.๕  สนับสนุนประเพณีการแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ๓.๖ สนับสนุนประเพณีลอยกระทง ๓.๗  สนับสนุนบุญประเพณีบุญมหาชาติให้คงเหลือไว้สืบต่อไป ๔. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๔.๑  ขอรับการสนับสนุนขุดลอกสระแก้ว ๔.๒  จัดให้มีที่ทิ้งขยะมูลฝอยในเขตเมืองพิบูลมังสาหาร ๔.๓  ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในเมืองพิบูลมังสาหาร ๕. ด้านเศรษฐกิจ ๕.๑  สนับสนุนให้เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารให้มีตลาดสินค้าเกษตร ๕.๒  ส่งเสริมกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ให้มีรายได้มีความสามัคคีในชุมชน ๕.๓  ส่งเสริมให้มีแหล่งท่องเที่ยวในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ๖. ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาท้องถิ่นให้ยั่งยืน เพื่อให้ภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนามากยิ่งขึ้น อาทิ  ผู้นำชุมชน  ชมรมผู้สูงอายุ  อสม. อปพร. กรรมการชุมชน กลุ่มสตรี  กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเยาวชน  และกลุ่มอื่น ๆ อันจะเป็นกำลังสำคัญสนับสนุนการทำงานของเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ๗. ด้านการศึกษา กีฬา และนันทนาการ ๗.๑  ส่งเสริมเด็ก และเยาวชนในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารได้รับโอกาสทางการศึกษาที่สูงขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ๗.๒  ส่งเสริมสนับสนุนก่อตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  เพื่อจะได้พัฒนาให้ได้รับโอกาส  และได้พัฒนาสมองให้สมวัย ๗.๓  ส่งเสริมการจัดกิจกรรมวันเด็กโดยจัดเวทีแสดงและมอบรางวัลให้เด็กมีส่วนร่วมทุกโรงเรียน ๗.๔  ส่งเสริมจัดการแข่งขันกีฬาต่อต้านยาเสพติดของเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารท่านประธานสภาเทศบาลและสมาชิกสภาที่เคารพทุกท่าน
ดู: 178
เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร

เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร

I will be back soon

เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร
สวัสดีครับ ต้องการให้เทศบาลช่วยเหลือเรื่องไหนครับ?
ติดต่อเทศบาล