สำนักปลัดเทศบาล มีหน้าที่ควบคุม ดูแล รับผิดชอบการปฏิบัติ
– งานด้านการบริหารงานบุคคลของเทศบาล
– งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
– งานรักษาความสงบเรียบร้อยและงานป้องกันบรรเทาสาธารณภัย
– การให้บริการประชาชนทางด้านงานทะเบียนราษฎร เช่น การแจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งย้ายที่อยู่ และทำบัตรประจำตัวประชาชน
– งานสารบรรณของเทศบาลจัดการประชุมสภาเทศบาลและพนักงานเทศบาล
– จัดเตรียมให้บริการด้านสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ การติดต่ออำนวยความสะดวกต่าง ๆ
– งานการเลือกตั้ง และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

หลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นติดต่องานทะเบียนราษฎร

1. การแจ้งเกิด
– เจ้าบ้านหรือบิดา หรือมารดา เป็นผู้แจ้ง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีเจ้าบ้านแจ้งให้นำบัตรบิดาหรือมารดามาแสดงด้วย)
– หนังสือรับรองการเกิด (ถ้ามี)
– แจ้งภายใน 15 วัน

2. การแจ้งเกิดเกินกำหนด
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง,บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา มารดา (ถ้ามี)
– หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล (ถ้ามี)
– ค่าปรับ 20 บาท

3. การแจ้งตาย
– เจ้าบ้านหรือผู้พบศพหรือผู้ที่ไปกับผู้ตายเป็นผู้แจ้งพร้อมบัตรประชาชน
– กรณีตายโดยผิดธรรมชาติให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจเพื่อชันสูตรพลิกศพก่อน
– ถ้าผู้ตายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเทศบาลให้นำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านมาแสดง
– แจ้งภายใน 24 ชั่วโมง

4. การแจ้งย้ายที่อยู่
– เจ้าบ้านหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้านเป็นผู้แจ้ง
– กรณีมอบอำนาจให้นำบัตรผู้แจ้งและบัตรเจ้าบ้านมาแสดงด้วย
– ใบแจ้งย้ายที่อยู่ (กรณีย้ายเข้า)
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ย้ายออกหรือย้ายเข้า แจ้งภายใน 15 วัน

5. การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง (อัตโนมัติ)
– ผู้แจ้งพร้อมบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับปัจจุบัน
– เจ้าบ้านพร้อมบัตรประชาชน
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ย้ายเข้า
– ค่าธรรมเนียม 20 บาท

6. การออกใบแทนใบแจ้งย้ายที่อยู่ กรณีสูญหายหรือชำรุด
– บัตรประจำตัวประชาชน
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– บันทึกการแจ้งความ

7. การจำหน่ายชื่อ
– บัตรประจำตัวประชาชน
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– ใบมรณบัตร
– ใบมรณบัตรฉบับแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยกระทรวงต่างประเทศ (กรณีตายต่างประเทศ)

8. การขอบ้านเลขที่กรณีบ้านปลูกสร้างใหม่
– บัตรผู้แจ้ง กรณีเป็นเจ้าของบ้าน
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– เอกสารที่ดิน (โฉนด)
– ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร
– หนังสือมอบอำนาจ บัตรผู้มอบ บัตรผู้รับมอบ (กรณีมอบอำนาจ)

9. การขอแก้ไขรายการในเอกสารการทะเบียนราษฎร
ให้นำเอกสารการทะเบียนราษฎรที่ผิดพลาดมาติดต่อเจ้าหน้าที่ เอกสารที่ทางราชการออกให้ เช่น
– เอกสารการทะเบียนราษฎร
– สำเนาทะเบียนนักเรียน ใบสุทธิ
– หลักฐานการขึ้นทะเบียนทหาร (ส.ด.9)
– หลักฐานการสมรสหรือหย่า
– ใบสำคัญเปลี่ยนชื่อตัว-หรือชื่อสกุล
– ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
– ฯลฯ

หลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นติดต่องานบัตรประจำตัวประชาชน

ขอมีบัตร
1.กรณีขอมีบัตรครั้งแรก (อายุ 15 ปีบริบูรณ์)
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– สูติบัตร หรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้
– บิดา/มารดา/เจ้าบ้าน หรือบุคคลที่พนักงานเชื่อถือได้รับรอง
2.กรณีขอมีบัตรครั้งแรกเกินกำหนด
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– สูติบัตร หรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้
– เจ้าบ้าน หรือบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่เชื่อถือได้รับรอง
– ค่าปรับ 20 บาท
3.กรณีเพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้าน
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– สูติบัตร (กรณีแจ้งเกิดเกินกำหนด)
– หลักฐาน/เอกสารที่ทางราชการออกให้ (กรณีตกสำรวจ)
– สอบสวนเจ้าบ้าน หรือบุคคลที่น่าเชื่อถือ
– ค่าธรรมเนียม 20 บาท (เกิน 60 วัน นับจากวันที่เพิ่มชื่อ)
4.กรณีเป็นบุคคลได้รับการยกเว้น
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– หลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลได้รับการยกเว้น เช่น บัตรประจำตัว อื่นๆ ตามกฎหมายกำหนด
– กรณีไม่สามารถแสดงหลักฐานว่าเป็นบุคคลได้รับกรยกเวนให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่เชื่อถือไปให้การรับรอง
– ค่าธรรมเนียม 20 บาท
5.กรณีพ้นสภาพได้รับการยกเว้น
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– หลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลได้รับการยกเว้น (ภายใน 60 วัน)
6.กรณีได้/กลับคืนสัญชาติ
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– หนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติ/ได้หลับคืนสัญชาติไทย

ขอมีบัตรใหม่
1.กรณีบัตรชำรุดในสาระสำคัญ
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– บัตรเดิมที่หมดอายุ (ภายใน 60 วัน)
– บัตรหมดอายุเกินกำหนดเสียค่าปรับ 20 บาท
2.กรณีบัตรหาย หรือถูกทำลาย
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– หลักฐานแจ้งบัตรหาย/ทำลาย
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนใบที่หาย
– แสดงหลักฐานที่ทางราชการออกให้อย่างใดอย่างหนึ่ง (ถ้ามี)
– นำเจ้าบ้านหรือบุคคลอื่นที่พนักงานเจ้าหน้าที่เชื่อถือไปให้การรับรอง
– ค่าธรรมเนียม 20 บาท

ขอมีเปลี่ยนบัตร
1.กรณีบัตรชำรุดในสาระสำคัญ
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่ชำรุด
– ถ้าบัตรประจำตัวประชาชนชำรุดบริเวณภาพถ่าย หรือชื่อ-ชื่อสกุล ไม่สามารถพิสูจน์ตัวบุคคลได้
ให้แสดงหลักฐานทางราชการที่สามารถให้พิสูจน์ตัวบุคคลได้
– นำเจ้าบ้านหรือบุคคลอื่นที่พนักงานเจ้าหน้าที่เชื่อถือไปให้การรับรอง
– ค่าธรรมเนียม 20 บาท
2.กรณีเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– บัตรประจำตัวประชาชนเดิม
– หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล
– ค่าธรรมเนียม 20 บาท

แผนควบคุมคุณภาพการให้บริการ

สำนักปลัด

น.ส.อุดม โยธะพันธ์
ปลัดเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร

081-066-6429

นางสามัคคี สินทรัพย์
รองปลัดเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร

081-761-4129

 

นายธีระทัศน์ ทองปัน
หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ
นางพัชรา อินหนองฉาง
หัวหน้าฝ่ายปกครอง

น.ส.กนกนาถ โกศัลวัฒน์
บุคลากร ชำนาญการ
น.ส.ภัควลัญธญ์ ศรีวัฒนพงศ์
นิติกรปฏิบัติการ
นายชาญณรงค์ วิบูลกิจธนากร
พนักงานจ้างตามภารกิจ
นางเกษร แน่นดี
พนักงานจ้างทั่วไป
นายสถาพร คำใส
พนักงานจ้างทั่วไป
นายนิคม สุโพธิ์ภาค
พนักงานจ้างเหมา

กองคลัง มีหน้าที่ควบคุม ดูแล และรับผิดชอบการปฏิบัติงานด้านการพัฒนารายได้ – งานการเงินและบัญชี – งานผลประโยชน์ – การจัดเก็บภาษีอากร – งานเร่งรัดรายได้ – งานสถิติการคลัง – งานบริการข้อมูลแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน – การจัดซื้อ – จัดจ้าง การประกวดราคา และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย – รับชำระภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ – รับชำรุภาษีโรงเรือนและที่ดิน – รับชำระภาษีบำรุงท้องที่ – รับชำระภาษีป้าย – ชำระค่าธรรมเนียมขออนุญาตใช้เสียง

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน เป็นภาษีที่จัดเก็บจาก 1. โรงเรือนกับที่ดิน ซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนนั้นๆ และ 2. สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับสิ่งปลูกสร้างนั้น โรงเรือน หมายถึง บ้าน ตึกแถว ร้านค้า สำนักงาน บริษัท ธนาคาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล โรงเรียน แฟลต หรือ อพาร์ทเม้นท์ คอนโดมิเนียม หอพัก สนามมวย สนามม้า คลังสินค้า ฯลฯ สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ หมายถึง ท่าเรือ สะพาน อ่างเก็บน้ำ ถังเก็บน้ำมัน คานเรือ ซึ่งมีลักษณะการก่อสร้างติดที่ดินเป็นการถาวร ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ หมายถึง ที่ดินซึ่งปลูกโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ และบริเวณต่อเนื่องกัน ซึ่งตามปกติใช้ได้ด้วยกันกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ ผู้รับประเมิน อันหมายถึง ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ขั้นตอนการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี ผู้รับประเมิน(เจ้าของทรัพย์สิน)จะต้องยื่นแบบภ.ร.ด.2ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ของทุกปี หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง ดังนี้ 1.ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินปีที่ล่วงมาแล้ว 2.รายละเอียดจำนวนอาคารที่มีกรรมสิทธิ์อยู่ทั้งสิ้นในเขตเทศบาล 3.รายการจำนวนเนื้อที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์แต่ละแปลง 4.บัตรประจำตัวประชาชน การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน เจ้าพนักงานจะทำการประเมินภาษีจากค่ารายปี ค่ารายปี หมายถึง จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆ อัตราค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้รับประเมินจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี การชำระเงิน เมื่อผู้รับประเมิน(เจ้าของทรัพย์สิน)ได้รับใบแจ้งการประเมินค่าภาษี ภ.ร.ด.8)จะต้องชำระค่าภาษี ณ งานผลประโยชน์ กองคลัง ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง การยื่นอุธรณ์ กรณีที่ผู้ประเมินได้รับแจ้งประเมินค่าภาษีแล้วไม่พอใจในการประเมินค่าภาษี ให้ยื่นคำร้องขอให้ พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินภาษี การไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา  กรณีที่ผู้ประเมินไม่ชำระค่าภาษีภายในกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่ม ดังนี้ 1. ถ้าค้างชำระเกิน 1 เดือน นับแต่วันที่พ้นกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2.5 ของค่าภาษีที่ค้าง 2. ถ้าค้างชำระเกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีที่ค้าง 3. ถ้าค้างชำระเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 7.5 ของค่าภาษีที่ค้าง 4. ถ้าค้างชำระเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีที่ค้าง บทกำหนดโทษ ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีภายในกำหนดผู้นั้นจะมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท

ภาษีบำรุงท้องที่

     ภาษีบำรุงท้องที่ เป็นภาษีที่จัดเก็บจาก ที่ดิน ซึ่งหมายถึง พื้นที่ดิน พื้นที่ๆเป็นภูเขาที่มีน้ำด้วย ขั้นตอนการชำระภาษีบำรุงท้องที่ ให้เจ้าของที่ดินที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี(ภ.บ.ท.5)ณงานผลประโยชน์ กองคลัง เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ทุกรอบระยะเวลา 4 ปี กรณีบุคคลใดเป็นเจ้าของที่ดินขึ้นใหม่หรือจำนวนเนื้อที่ดินเดิมเปลี่ยนแปลงไปให้เจ้าของที่ดินยื่นแบบแสดงรายการที่ดินภายในเวลา 30 วัน นับจากวันที่เป็นเจ้าของที่ดินขึ้นใหม่หรือจำนวนที่ดินได้มีการเปลี่ยนแปลง การชำระเงินค่าภาษี ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องชำระเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่ภายในวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี การไม่ยื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนด กรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ยื่นแบบภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มอีก ร้อยละ 10 ของจำนวนเงินค่าภาษี กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ชำระภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินค่าภาษี การลดหย่อน บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงเดียว หรือหลายแปลงที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร และใช้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของตนเป็นที่เลี้ยงสัตว์ของตน หรือประกอบกสิกรรมของตนให้ลดหย่อนไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ 100 ตารางวา

ภาษีป้าย

      ภาษีป้าย เป็นภาษีที่จัดเก็บจากป้าย อันหมายถึงป้ายแสดงชื่อยี่ห้อหรือเครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นๆ เพื่อหารายได้ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลัก จารึกหรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น ขั้นตอนการชำระภาษีป้าย การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย – ผู้เป็นเจ้าของป้ายจะต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี – กรณีที่ติดตั้งป้ายใหม่ จะต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ติดตั้งใหม่ การชำระเงินค่าภาษี ป้ายประเภท 1 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยล้วนให้คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร ป้ายประเภท 2 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยปนไปกับอักษรต่างประเทศหรือปนกับภาพ และหรือเครื่องหมายอื่นให้คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตป้ายประเภท 3 หมายถึง (ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดๆ หรือไม่ หรือ (ข) ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศให้คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้วถ้ามีอัตราส่วนต่ำกว่าป้าย 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท การไม่ยื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนด – ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ยื่นแบบภายในกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของค่าภาษี – ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ชำระเงินค่าภาษีภายในกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 ของค่าภาษี

ค่าธรรมเนียมเก็บและขนมูลฝอย

สำหรับอาคารโรงเรือนวันหนึ่งมูลฝอยเกิน 20 ลิตร ค่าธรรมเนียม เดือนละ 40 บาท เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของอาคาร สถานที่และประโยชน์ในกาสรรักษาความสะอาดในเขตเทศบาล โปรดให้ความร่วมมือชำระค่าธรรมเนียมเก็บและขนมูลฝอย เป็นประจำทุกเดือนและรับใบเสร็จรับเงินทุกครั้งจากเจ้าหน้าที่

Untitled
ผู้อำนวยการกองคลัง

ว่าง
หัวหน้าฝ่ายบริหารงานคลัง

น.ส.สุรีย์นิภา หินรส
นักวิชาการพัสดุ ปฏิบัติการ
นายอุทิศ จันทร์สุข
เจ้าพนักงานดับเพลิง ชำนาญงาน
นายพรพิเศษ สุพรรณคำ
ลูกจ้างประจำ
นางพิศมัย สุพรรณคำ
พนักงานจ้างตามภารกิจ
นางบุญหลาย สุวรักษ์
พนักงานจ้างทั่วไป
น.ส.ชุติมา เฉลิมพงศ์
พนักงานจ้างทั่วไป
น.ส.กัญญาภัทร เรือนแก้ว
พนักงานจ้างทั่วไป
นางศรีสวัสดิ์ อุ่นเสมอ
พนักงานจ้างเหมา
น.ส.สุภาภรณ์ ทองเกิด
พนักงานจ้างเหมา

กองการศึกษา มีหน้าที่ควบคุม ดูแล รับผิดชอบการปฏิบัติงานด้าน
– งานบริหารและพัฒนาด้านการศึกษา
– งานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น
– งานกิจกรรมด้านนันทนาการและการกีฬา
– งานการศึกษานอกโรงเรียน และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

นางเพ็ญศรี เถาว์โท
ผู้อำนวยการกองการศึกษา

นายกมลวรรธน์ ดุมแก้ว
หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

นายวิเชียร ใจศรี
นักทรัพยากรบุคคล ชำนาญการ
นางสาวอัจฉราพร บ้านใหม่
นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ
นายเอกนรินทร์ จงวัฒน์
นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ
นายภัชรพล ผลสมบัติ
นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ
นายมานพ ทองรอง
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

กองช่าง ทำหน้าที่รับผิดชอบและให้บริการ – การขออนุญาตก่อสร้าง รื้อถอน ดัดแปลงอาคาร – การขออนุญาตขุดดิน ถมดิน – การขออนุญาตเชื่อมทาง ท่อระบายน้ำ – การตรวจสอบและซ่อมแซมไฟฟ้าสาธารณะ ตัดต้นไม้ – รับร้องเรียนเกี่ยวกับถนนเสียหาย และดูแลสวนสาธารณะและสวนหย่อม ประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคาร ตามที่ได้มีพ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา 32ทวิ ได้กำหนดประเภทอาคารต่างๆที่เจ้าของอาคารต้องจัดให้มีการตรวจสอบอาคาร ดังนี้ 1. อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ 2. อาคารชุมนุมคน 3. อาคารตามที่กำหนดในกฎกระทรวง พ.ศ. 2548 3.1 โรงมหรสพ 3.2 โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่แปดสิบห้องขึ้นไป 3.3 สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสภาพบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่สองร้อยตารางเมตรขึ้นไป 3.4 อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดหรืออาคารอยู่อาศัยรวมที่มีพื้นที่ตั้งแต่สองพันตารางเมตรขึ้นไป 3.5 ป้ายหรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่สิบห้าเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติด หรือตั้งบนหลังคา หรือดาดฟ้าของอาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ห้าพันตารางเมตรขึ้นไป 3.6 ป้ายหรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่สิบห้าเมตรขึ้นไป การดำเนินการ เป็นอาคารที่ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จหรือได้รับใบรับรอง ตามมาตรา 32 ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ซึ่งต้องเสนอรายงานผลการตรวจสอบอาคารดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ภายในระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง พ.ศ. 2548 (ภายในธันวาคม ปี พ.ศ. 2550 และภายในธันวาคมของทุกปี) เพื่อเป็นการชี้แจงให้ประชาชนรับทราบข้อมูลข่าวสารดังกล่าว บทลงโทษ มาตรา 65 ทวิ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 32 ทวิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 32 ทวิ ยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฎิบัติให้ถูกต้อง

นายอนุชา เลติวานิช
ผู้อำนวยการกองช่าง

นายชัยวัฒน์ เสาหิน
นายช่างยนต์ ระดับ 7
นายประธาน เรือนแก้ว
นายช่างไฟฟ้า ระดับ 7
นายจิรศักดิ์ โพธิ์งาม
นายช่างโยธา ระดับ 5
นายเมธี ครองยุติ
เจ้าพนักงานสวนสาธารณะ
นายชัชวาล สัตยากุล
นายช่างไฟฟ้า
นายสุรพงษ์ แสนทวีสุข
ลูกจ้างประจำ
นายอัฐพล จันทร์สอน
พนักงานจ้างเหมา
นายภานุวัชร เรือนแก้ว
พนักงานจ้างเหมา
นายกรีฑา สิงห์สี
ลูกจ้างประจำ
นายฉลาด แสงทอง
ลูกจ้างประจำ
นายสมบูรณ์ สร้อยนาค
ลูกจ้างประจำ
นายสมบูรณ์ เจริญศรี
ลูกจ้างตามภารกิจ
นายนพดล บุญญา
ลูกจ้างตามภารกิจ
นายวันชัย ชัยบุรินทร์
ลูกจ้างทั่วไป
นางพรหมมา บุญเดช
พนักงานจ้างทั่วไป
นายประวิทย์ จำปาแพง
พนักงานจ้างทั่วไป
นายนันทชัย เกษกุล
พนักงานจ้างทั่วไป
นางวัชราพร แก้วสด
พนักงานจ้างทั่วไป
นายบุญทอง ลือชา
พนักงานจ้างทั่วไป
นายบุญมา เจริญศรี
พนักงานจ้างทั่วไป
นายอนันต์ โพธิ์งาม
พนักงานจ้างทั่วไป
นายอุทิศ สุวรรณกูฎ
พนักงานจ้างทั่วไป
นายวิรัตน์ กาวดิลก
พนักงานจ้างทั่วไป
นายอานนท์ เจริญดี
พนักงานจ้างทั่วไป
นายเฉลิมพล ลิ้มวงษ์ทอง
พนักงานจ้างเหมา
นายสุรศักดิ์ สามลา
พนักงานจ้างเหมา
นายสุพรรณ หงษ์ลอย
พนักงานจ้างเหมา
นายนัฐพล บุญศรี
พนักงานจ้างเหมา
นายทินกร สั่งสอน
พนักงานจ้างเหมา
นายวิโรจน์ เทียนแก้ว
พนักงานจ้างเหมา
นายเกริกเกียรติ ชั้นทองคำ
พนักงานจ้างเหมา
ส.อ.มนตรี บั้งทอง
พนักงานจ้างเหมา
นายมนตรี บุญอาจ
พนักงานจ้างเหมา
นายวีระศักดิ์ จันหอม
พนักงานจ้างเหมา
นายยศพันธ์ สุธีรประเสริฐ
พนักงานจ้างเหมา
นายสรศักดิ์ เหล็กกล้า
พนักงานจ้างเหมา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม : หน้าที่

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ควบคุมดูแลและรับผิดชอบงานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม งานรักษาความสะอาด งานเผยแพร่และฝึกอบรม งานศูนย์บริการสาธารณสุข งานป้องกันและควบคุมโรค งานสัตวแพทย์ โดยรับผิดชอบการปฏิบัติงาน งานส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้
  • งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม

    มีหน้าที่ 1. รับเรื่องร้องเรียนด้านเหตุรำคาญต่างๆ 2. ออกใบอนุญาตประเภทต่างๆ ได้แก่ – ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร – ใบอนุญาตประกอบกิจการค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ – ใบอนุญาตเป็นผู้จำหน่ายในที่หรือทางสาธารณะ – ใบอนุญาตเป็นผู้จำหน่ายหรือเร่ขายสินค้าในที่สาธารณะ – ใบอนุญาตจัดตั้งตลาด – ใบอนุญาตจัดตั้งห่วงยาง – ใบอนุญาตเรือสกู๊ตเตอร์และเรือยาง – ใบอนุญาตสุสานและฌาปนสถาน – อบรมและประชุมผู้ประกอบการชายหาดบางแสน/ตลาดหนองมน *ระยะเวลาในการต่อใบอนุญาต เริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม – 31 ธันวาคม ของทุกปี
  • งานรักษาความสะอาด

    มีหน้าที่ 1. เก็บขนขยะมูลฝอย 2. จัดเก็บขยะบริเวณชายหาดบางแสน 3. จัดตั้งถังขยะตามถนนสายต่างๆ 4. รับดูดสิ่งปฎิกูล 5. รับคำร้องในงานรักษาความสะอาด 6. ล้างถังขยะ/ล้างตลาดหนองมน/ล้างลานแหลมแท่น/ล้างเขาสามมุข 7. ล้างฟุตบาท หน้า ม.บูรพา แก้ปัญหาความสกปรกจากขี้นก 8. ตัดหญ้าบริเวณไหล่ทาง 9. กวาด/ดูดฝุ่นถนนสายต่างๆ 10. ทำน้ำ EM (น้ำหมักชีวภาพ)
  • งานสัตวแพทย์

    มีหน้าที่ 1. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคในสัตว์ ได้แก่ – โรคลำไส้อักเสบติดต่อ – โรคไข้หวัดสุนัข – โรคไข้ฉี่หนู – โรคตับอักเสบติดต่อ – โรคพิษสุนัขบ้า 2. ฉีดยาคุมกำเนิดสัตว์ ทำหมันสัตว์ การจัดการสัตว์ดุร้าย สัตย์จรจัด 3. รักษาสัตว์ ตรวจสุขภาพ และการจัดการด้านสุขภาพ (ถ่ายพยาธิ/กำจัดไรขี้เรื้อน) ให้คำปรึกษาด้านการเลี้ยงสัตว์) * ให้บริการ 09.30-12.00 น. ทุกวัน ยกเว้นวันหยุดราชการ
  • งานเผยแพร่และฝึกอบรม

    มีหน้าที่ 1. เผยแพร่กิจกรรมทางวิชาการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
  • งานศูนย์บริการสาธารณสุข

    มีหน้าที่ 1. ให้บริการรักษาพยาบาลในและนอกถานที่ 2. รักษาพยาบาลผู้ป่วย ตามคำสั่งการรักษาของแพทย์ 3. ผ่าตัดเล็ก งานปฐมพยาบาล ทำแผล เย็บแผล งานฉีดยา 4. รับส่งผู้ป่วยเพื่อการตรวจรักษาต่อเนื่อง งานติดตามผู้ป่วย ให้สุขศึกษาและฟื้นฟูสภาพ
  • งานส่งเสริมสุขภาพ

    มีหน้าที่ 1. งานอนามัยโรงเรียน 2. ให้บริการและคำปรึกษาการวางแผนครอบครัว 3. งานอนามัยแม่และเด็ก 4. งานสาธารณสุขมูลฐาน และรับผิดชอบชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข 5. รับผิดชอบชมรมผู้สูงอายุแสนสุข 6. งานโภชนาการ 7. งานสุขภาพจิต
  • งานป้องกันและควบคุมโรค

    มีหน้าที่ 1. ป้องกันและติดตามผู้ติดยาเสพติดและสารเสพติด 2. งานควบคุมแมลงและพาหะนำโรค – ฉีดพ่นยากำจัดยุง / แมลงวัน/กำจัดหนู

นางพูลศรี ศรีเข้ม
ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

Untitled
หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข

ว่าง
พยาบาลวิชาชีพ
ว่าง
นักวิชาการสุขาภิบาล
นายวรวุฒิ นนท์ศิริ
เจ้าพนักงานธุรการ ปฏิบัติงาน
นางนิภา อุปวรรณ
ลูกจ้างประจำ
นางสาววนิดา วันใส
พนักงานจ้างตามภารกิจ
นายดิเรก มุขสมบัติ
พนักงานจ้างทั่วไป

กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ

กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ  มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ งานวิเคราะห์นโยบายและแผน งานยุทธศาสตร์ของเทศบาล งานจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล งานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น งานประสานงานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด งานคณะกรรมการพัฒนาเทศบาล งานคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล งานงบประมาณ งานเสนอแนะขอรับการจัดสรรเงินอุดหนุนของเทศบาล งานจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำและฉบับเพิ่มเติม (ถ้ามี) งานตรวจติดตามและประเมินผลแผนงานและโครงการ งานจัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของเทศบาล งานบริการ ข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คำแนะนำทางวิชาการ งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และที่ได้รับมอบหมาย ประกอบด้วย ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ
  1. งานวิเคราะห์นโยบายและแผน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
– งานรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น – งานยุทธศาสตร์ของเทศบาล งานจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น และแผนการดำเนินงานประจำปี – งานวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการเพื่อเสนอหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง – งานประสานและบูรณาการและแผนงาน โครงการกับหน่วยงานภายในเขตเทศบาลและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง งานประสานแผนพัฒนาจังหวัด – การบันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนและประเมินผลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-PLAN) ด้านการพัฒนาเทศบาล ข้อมูล อปท. วิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์เชื่อมโยงระบบ การอนุมัติงบประมาณ (e-Laas) – การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามนโยบายของนายกเทศมนตรี – งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
  1. งานงบประมาณ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
– งานรวบรวมข้อมูลสถิติเพื่อใช้วิเคราะห์งบประมาณ – งานเสนอแนะและให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ – งานจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม – งานโอน และแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงงบประมาณรายจ่าย – งานลงข้อมูลงบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมในระบบ – บัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS) – งานเสนอแนะข้อรับการจัดสรรเงินอุดหนุนของรัฐบาล – งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย 3.ฝ่ายบริหารงานทั่วไป มีหน้าที่รับผิดชอบ ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานในหน้าที่ของงานธุรการ โดยมีหน้าที่รับผิดชอบภายในงาน ดังนี้
  • งานสารบรรณ
  • งานดูแลรักษาการจัดเตียมและให้บริหารเรื่องสถานที่อุปกรณ์ การติดต่อและอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ
  • งานตรวจสอบและแสดงรายการเกี่ยวกับเอกสารสำคัญชองทางราชการ
  • งานรักษาความสะอาดปลอดภัยของสถานที่ราชการ
  • งานขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญจักรพรรดิมาลาและผู้ทำคุณประโยชน์
  • งานการลาพักผ่อนประจำปีและการลาอื่นๆ
  • การรับ การส่งหนังสือ การเก็บรักษาเอกสาร
  • การปฏิบัติหน้าที่จัดทำฎีกาเบิก-จ่าย งบประมาณ
  • ปฏิบัติหน้าที่ รายงานการจัดซื้อจัดจ้าง
  • งานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
นายธนเสฏฐ์ ปิติพงศ์เมธิน
ผอ.กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
น.ส.ธัญภา โกศัลวัฒน์
หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป
นายธนิต แห่งธรรม
หัวหน้าฝ่ายแผนงานและงบประมาณ
นางปราณปรียา แสวงดี
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ
นางสาวเขมจิรา สารการ
เจ้าพนักงานธุรการ
นางสาวรัตนวดี บุญทัน
พนักงานจ้างตามภารกิจ

บทบาทหน้าที่

  1. หน่วยตรวจสอบภายในมีหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติงานทุกสำนัก/ทุกกองของเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร และมีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูล เอกสาร ทรัพย์สิน เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน
  2. หน่วยตรวจสอบภายในไม่มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย วิธีปฏิบัติงาน และระบบการควบคุมภายในหรือการแก้ไข  ระบบควบคุมภายใน ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง  ผู้ตรวจสอบภายในมีหน้าที่เป็นเพียงผู้ให้ คำปรึกษาแนะนำ ขอบเขตการตรวจสอบภายในจะครอบคลุมทั้งการตรวจสอบด้านการเงินและการบัญชีและการตรวจสอบการดำเนินการ รวมทั้งการสอบทานการประเมินผลการควบคุมภายใน
  3. ขอบเขตของการตรวจสอบภายใน จะครอบคลุมทั้งการตรวจด้านการเงินการบัญชี และการตรวจสอบการดำเนินงาน รวมทั้งการสอบทานและประเมินผลการควบคุมภายใน
  4. หน่วยตรวจสอบภายในต้องมีความเป็นอิสระ ทั้งในการปฏิบัติงานและการเสนอความเห็นในการตรวจสอบและมิให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการใดๆ ของเทศบาลอันมีผลกระทบต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานและการเสนอความเห็น

หน้าที่และความรับผิดชอบ

  1. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในต้องปฏิบัติงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งหน่วยตรวจสอบภายใน โดยให้รายงานผลการตรวจสอบและการให้ข้อมูลเชิงวิเคราะห์ ประเมินผล ข้อเสนอแนะ คำปรึกษา ตามแนวทางที่มาตรฐานการตรวจสอบภายในกำหนดไว้
  2. ข้อมูลเกี่ยวกับความเพียงพอ และประเมินประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายในทั้งทางการเงินการบัญชีและการปฏิบัติงาน
  3. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน จะประสานงานกับหน่วยรับตรวจ (สำนัก/กอง)เพื่อให้ผู้บริหาร(หัวหน้าสำนัก/กอง)ของหน่วยรับตรวจมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะในอันที่จะทำให้ผลการตรวจสอบมีประโยชน์สามารถนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  4. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน ต้องประสานงานกับสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อให้เกิดผลงานร่วมที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร

การจัดการความเสี่ยง

บุคคลากร

น.ส.อุดม โยธะพันธ์
ปลัดเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร
น.ส.นับพร บัณฑิตสุขุมาลย์
นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ
เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร

เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร

I will be back soon

เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร
สวัสดีครับ ต้องการให้เทศบาลช่วยเหลือเรื่องไหนครับ?
ติดต่อเทศบาล