กองคลัง มีหน้าที่ควบคุม ดูแล และรับผิดชอบการปฏิบัติงานด้านการพัฒนารายได้ – งานการเงินและบัญชี – งานผลประโยชน์ – การจัดเก็บภาษีอากร – งานเร่งรัดรายได้ – งานสถิติการคลัง – งานบริการข้อมูลแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน – การจัดซื้อ – จัดจ้าง การประกวดราคา และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย – รับชำระภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ – รับชำรุภาษีโรงเรือนและที่ดิน – รับชำระภาษีบำรุงท้องที่ – รับชำระภาษีป้าย – ชำระค่าธรรมเนียมขออนุญาตใช้เสียง

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน เป็นภาษีที่จัดเก็บจาก 1. โรงเรือนกับที่ดิน ซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนนั้นๆ และ 2. สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับสิ่งปลูกสร้างนั้น โรงเรือน หมายถึง บ้าน ตึกแถว ร้านค้า สำนักงาน บริษัท ธนาคาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล โรงเรียน แฟลต หรือ อพาร์ทเม้นท์ คอนโดมิเนียม หอพัก สนามมวย สนามม้า คลังสินค้า ฯลฯ สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ หมายถึง ท่าเรือ สะพาน อ่างเก็บน้ำ ถังเก็บน้ำมัน คานเรือ ซึ่งมีลักษณะการก่อสร้างติดที่ดินเป็นการถาวร ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ หมายถึง ที่ดินซึ่งปลูกโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ และบริเวณต่อเนื่องกัน ซึ่งตามปกติใช้ได้ด้วยกันกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ ผู้รับประเมิน อันหมายถึง ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ขั้นตอนการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี ผู้รับประเมิน(เจ้าของทรัพย์สิน)จะต้องยื่นแบบภ.ร.ด.2ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ของทุกปี หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง ดังนี้ 1.ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินปีที่ล่วงมาแล้ว 2.รายละเอียดจำนวนอาคารที่มีกรรมสิทธิ์อยู่ทั้งสิ้นในเขตเทศบาล 3.รายการจำนวนเนื้อที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์แต่ละแปลง 4.บัตรประจำตัวประชาชน การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน เจ้าพนักงานจะทำการประเมินภาษีจากค่ารายปี ค่ารายปี หมายถึง จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆ อัตราค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้รับประเมินจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี การชำระเงิน เมื่อผู้รับประเมิน(เจ้าของทรัพย์สิน)ได้รับใบแจ้งการประเมินค่าภาษี ภ.ร.ด.8)จะต้องชำระค่าภาษี ณ งานผลประโยชน์ กองคลัง ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง การยื่นอุธรณ์ กรณีที่ผู้ประเมินได้รับแจ้งประเมินค่าภาษีแล้วไม่พอใจในการประเมินค่าภาษี ให้ยื่นคำร้องขอให้ พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินภาษี การไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา  กรณีที่ผู้ประเมินไม่ชำระค่าภาษีภายในกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่ม ดังนี้ 1. ถ้าค้างชำระเกิน 1 เดือน นับแต่วันที่พ้นกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2.5 ของค่าภาษีที่ค้าง 2. ถ้าค้างชำระเกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีที่ค้าง 3. ถ้าค้างชำระเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 7.5 ของค่าภาษีที่ค้าง 4. ถ้าค้างชำระเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีที่ค้าง บทกำหนดโทษ ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีภายในกำหนดผู้นั้นจะมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท

ภาษีบำรุงท้องที่

     ภาษีบำรุงท้องที่ เป็นภาษีที่จัดเก็บจาก ที่ดิน ซึ่งหมายถึง พื้นที่ดิน พื้นที่ๆเป็นภูเขาที่มีน้ำด้วย ขั้นตอนการชำระภาษีบำรุงท้องที่ ให้เจ้าของที่ดินที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี(ภ.บ.ท.5)ณงานผลประโยชน์ กองคลัง เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ทุกรอบระยะเวลา 4 ปี กรณีบุคคลใดเป็นเจ้าของที่ดินขึ้นใหม่หรือจำนวนเนื้อที่ดินเดิมเปลี่ยนแปลงไปให้เจ้าของที่ดินยื่นแบบแสดงรายการที่ดินภายในเวลา 30 วัน นับจากวันที่เป็นเจ้าของที่ดินขึ้นใหม่หรือจำนวนที่ดินได้มีการเปลี่ยนแปลง การชำระเงินค่าภาษี ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องชำระเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่ภายในวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี การไม่ยื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนด กรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ยื่นแบบภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มอีก ร้อยละ 10 ของจำนวนเงินค่าภาษี กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ชำระภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินค่าภาษี การลดหย่อน บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงเดียว หรือหลายแปลงที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร และใช้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของตนเป็นที่เลี้ยงสัตว์ของตน หรือประกอบกสิกรรมของตนให้ลดหย่อนไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ 100 ตารางวา

ภาษีป้าย

      ภาษีป้าย เป็นภาษีที่จัดเก็บจากป้าย อันหมายถึงป้ายแสดงชื่อยี่ห้อหรือเครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นๆ เพื่อหารายได้ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลัก จารึกหรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น ขั้นตอนการชำระภาษีป้าย การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย – ผู้เป็นเจ้าของป้ายจะต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี – กรณีที่ติดตั้งป้ายใหม่ จะต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ติดตั้งใหม่ การชำระเงินค่าภาษี ป้ายประเภท 1 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยล้วนให้คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร ป้ายประเภท 2 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยปนไปกับอักษรต่างประเทศหรือปนกับภาพ และหรือเครื่องหมายอื่นให้คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตป้ายประเภท 3 หมายถึง (ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดๆ หรือไม่ หรือ (ข) ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศให้คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้วถ้ามีอัตราส่วนต่ำกว่าป้าย 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท การไม่ยื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนด – ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ยื่นแบบภายในกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของค่าภาษี – ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ชำระเงินค่าภาษีภายในกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 ของค่าภาษี

ค่าธรรมเนียมเก็บและขนมูลฝอย

สำหรับอาคารโรงเรือนวันหนึ่งมูลฝอยเกิน 20 ลิตร ค่าธรรมเนียม เดือนละ 40 บาท เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของอาคาร สถานที่และประโยชน์ในกาสรรักษาความสะอาดในเขตเทศบาล โปรดให้ความร่วมมือชำระค่าธรรมเนียมเก็บและขนมูลฝอย เป็นประจำทุกเดือนและรับใบเสร็จรับเงินทุกครั้งจากเจ้าหน้าที่

Untitled
ผู้อำนวยการกองคลัง

ว่าง
หัวหน้าฝ่ายบริหารงานคลัง

น.ส.สุรีย์นิภา หินรส
นักวิชาการพัสดุ ปฏิบัติการ
นายอุทิศ จันทร์สุข
เจ้าพนักงานดับเพลิง ชำนาญงาน
นายพรพิเศษ สุพรรณคำ
ลูกจ้างประจำ
นางพิศมัย สุพรรณคำ
พนักงานจ้างตามภารกิจ
นางบุญหลาย สุวรักษ์
พนักงานจ้างทั่วไป
น.ส.ชุติมา เฉลิมพงศ์
พนักงานจ้างทั่วไป
น.ส.กัญญาภัทร เรือนแก้ว
พนักงานจ้างทั่วไป
นางศรีสวัสดิ์ อุ่นเสมอ
พนักงานจ้างเหมา
น.ส.สุภาภรณ์ ทองเกิด
พนักงานจ้างเหมา

เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร

เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร

I will be back soon

เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร
สวัสดีครับ ต้องการให้เทศบาลช่วยเหลือเรื่องไหนครับ?
ติดต่อเทศบาล